พระพุทธรูป อยุธยาศิลปะบ้านพลูหลวง

Loading

รายละเอียดพระ

องค์พระสร้างจากสำริด ลงรักปิดทองทั้งองค์ ขนาด 22 นิ้ว สูงราว 1.2 เมตร (ฐานพระแยกออกได้) พุทธสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง คือการศึกษางานสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนาที่มีหลักฐานภาคเอกสารระบุว่าสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ๖ พระองค์ ที่ปกครองพระนครศรีอยุธยาระหว่างพ. ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐ รวมระยะเวลา ๘๐ ปี สุดท้ายก่อนการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา งานพุทธสถาปัตยกรรมที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน ๑๕ แห่งประกอบด้วย ๑. วัดบรมพุทธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา ๒. วัดพระยาแมน จ. พระนครศรีอยุธยา ๓. วัดโพธิ์ประทับช้าง จ. พิจิตร ๔. พระวิหารพระมงคลบพิตร จ. พระนครศรีอยุธยา ๕. พระมณฑปพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี ๖. วัดมเหยงคณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา ๗. วัดกุฎีดาว จ. พระนครศรีอยุธยา ๘. วัดปาโมก จ. อ่างทอง ๙. วัดหันตรา จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๐. วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๑. วัดพระราม จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๒. วัดภูเขาทอง จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๓. วัดศรีโพธิ์ จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๔. วัดนางคำ จ. พระนครศรีอยุธยา ๑๕. วัดครุธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา ผลจากการศึกษางานพุทธสถาปัตยกรรมทั้ง ๑๕ แห่งสามารถจัดลำดับพัฒนาการของสถาปัตยกรรมโดยพยายามแยกศึกษาวิเคราะห์ ๕ หัวข้อคือ ๑. ลักษณะแผนผัง ๒. รูปแบบสถาปัตยกรรม ๓. องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ๔. โครงสร้างและการก่อสร้าง ผลสรุปที่ได้จากการศึกษาพบว่า แผนผังของวัดในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงวางตัวสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรเป็นหลักมากกว่าการเน้นแนวแกนทิศทั้ง ๔ สถาปัตยกรรมภายในผังให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมประเภทอาคารพระอุโบสถหรือพระวิหารเป็นประธานของผัง รูปแบบสถาปัตยกรรมแบ่งได้เป็นสถาปัตยกรรมประเภทอาคาร และ ประเภทสถูปเจดีย์ ทั้งหมดมีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย ไม่สามารถจัดลำดับพัฒนาการที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมประเภทอาคาร ในด้านองค์ประกอบสถาปัตยกรรมได้แยกศึกษาพัฒนาการแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรมและพบลักษณะเฉพาะบางประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ด้านโครงสร้างและการก่อสร้างนั้น ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้สืบทอดเทคนิคการก่อสร้างจากรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ และพัฒนาเทคนิคเฉพาะบางประการขึ้นเอง

© 2024 ลิขสิทธิ์ amulet.website

Scroll to Top