นางกวัก ยุครัตนโกสินทร์

Loading

รายละเอียดพระ

คติการนับถือนางกวักแต่ดั้งเดิม คือนับถือเป็นผีบรรพชนนางหนึ่งของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไท โดยเป็นสตรีไทคนแรก ๆ ที่มีความสามารถเกี่ยวกับการทอผ้า จนกลายเป็นสินค้าที่สามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่น ๆ เพื่อการยังชีพหรือสร้างรายได้[4] โดยคติความเชื่อนางกวักแบบเดิมนี้ยังตกทอดในกลุ่มชาวไทต่าง ๆ เช่น ชาวไทพวนในจังหวัดลพบุรีและสุโขทัย ยังมีการละเล่น เรียกว่า นางกวัก โดยมีอุปกรณ์สำคัญในกิจกรรมคือ “กวัก” (อุปกรณ์ที่ใช้ปั่นด้าย) เพื่อเชิญผีบรรพชนมาลงคนทรง เพื่อเยี่ยมยามลูกหลานและทำนายทายทัก[5][6] นอกจากนี้ยังพบกิจกรรมเช่นเดียวกันนี้ในชุมชนลาวครั่งบางแห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย[4] ส่วนนางกวักในสังคมชาวไทยในภาคกลางได้ตกทอดคติการนับถือผีผู้หญิงของคนไทย ซึ่งนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ ดังเช่นคติการนับถือแม่โพสพ[7] ความเชื่อเรื่องนางกวักได้พัฒนาเปลี่ยนสภาพจากผีไปเป็นเทพที่คอยกวักเงินกวักทองมาให้[8] ปรากฏการหล่อปั้นนางกวักครั้งแรกราวยุคกรุงศรีอยุธยา โดยมากพบเป็นขนาดบูชา สร้างจากเนื้อโลหะ, ดินเผา หรือสลักจากไม้[9][10] ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์คติการนับถือนางกวักปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สยามมีเศรษฐกิจเฟื่องฟู มีการขยายตัวของกิจการร้านรวงในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมืองใหญ่ ๆ[7][11] นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่นยังมีการนับถือแมวกวักหรือมาเนกิเนโกะ โดยแมวกวักเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2395 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟู[12][11]

© 2024 ลิขสิทธิ์ amulet.website

Scroll to Top